วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

การแบ่งประเภทของดาวเคราะห์


การแบ่งประเภทของดาวเคราะห์
      ในยุคก่อนมียานอวกาศ นักดาราศาสตร์จำแนกประเภทดาวเคราะห์ ตามลักษณะที่ได้จากการสังเกตการณ์ด้วยมุมมองจากโลก โดยใช้วงโคจรของโลกเป็นเกณฑ์ในการแบ่งดาวเคราะห์ออกเป็นดาวเคราะห์วงในและดาวเคราะห์วงนอก  
ภาพที่ 1 :  วงโคจรของดาวเคราะห์

ดาวเคราะห์ช้ันใน
          ดาวเคราะห์ช้ันใน (Inferior Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์ เราจึงมองเห็นเคราะห์จึงมองเห็นดาวเคราะห์วงในอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ เหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันตกเวลาพลบค่ำ หรือเหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันออกเวลารุ่งเช้าเท่านั้น โดยดาวพุธจะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 28° และดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 44° (Greatest elongation)  เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดู ดาวเคราะห์ทั้งสองจะปรากฏให้เห็นเป็นเสี้ยวสว่างซึ่งมีขนาดเปลี่ยนไปในแต่ละคืน ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากโลก และแสงเงาจากดวงอาทิตย์
ภาพที่ 2 : เป็นภาพจากกล้องโทรทรรศน์ที่ส่องดูดาวเคราะห์ทั้งสองจะปรากฎเป็นเสี้ยว
ดาวเคราะห์วงนอก
           ดาวเคราะห์วงนอก (Superior Planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเคราะห์ชั้นนอกสามารถปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนในช่วงเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เวลาขึ้นหรือตก เมื่อส่องดูด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นว่า ดาวเคราะห์ชั้นนอกปรากฏให้เห็นเป็นวงค่อนข้างกลมและมีขนาดค่อนข้างคงที่ เนื่องจากอยู่ไกลจากโลกมากว่าดวงอาทิตย์ จึงหันด้านที่สะท้อนแสงอาทิตย์เข้าสู่โลกเสมอ ในยุคอวกาศ นักดาราศาสตร์จำแนกประเภทดาวเคราะห์ ตามลักษณะทางกายภาพซึ่งได้ข้อมูลมาจากยานอวกาศ ซึ่งแบ่งออกเป็นดาวเคราะห์ชั้นในและดาวเคราะห์ชั้นนอก
ภาพที่  3:  ดาวเคราะห์วงนอก


          ดาวเคราะห์ช้ันใน (Inner Planets) หรือ ดาวเคราะห์แข็ง (Terrestrial planets) หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวเป็นของแข็ง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กและมีมวลน้อย เนื่องจากบรรยากาศที่ห่อหุ้มดาวถูกทำลายโดยรังสีคลื่นสั้นและอนุภาคพลังงานสูงที่มากับลมสุริยะ จึงเหลือแต่พื้นผิวที่เป็นของแข็ง


ภาพที่  4:  ดาวเคราะห์ชั้นใน


ดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer Planets)หรือ ดาวเคราะห์แก๊ส (Giant Gas Planets)หมายถึง ดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศหนาแน่น ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ทีี่มีขนาดใหญ่และมีมวลมาก เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากอิทธิพลของรังสีและลมสุริยะ บรรยากาศจึงสามารถคงอยู่ได้อย่างหนาแน่น ดาวเคราะห์ชั้นนอกมีมวลมากจึงมีแรงโน้มถ่วงสูง ทำให้ดึงดูดสสารทั้งหลายมาสะสมไว้ภายใน และเป็นดวงจันทร์บริวาร สนามแรงโน้มถ่วงความเข้มสูงทำให้เกิดแรงไทดัลบนวัตถุทีเข้ามาใกล้่ แล้วแตกสลายกลายเป็นวงแหวน
หากพิจารณาโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์ชั้นนอกในภาพที่ 4 ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนดังเช่นดวงอาทิตย์​ ดังนั้นหากดาวเคราะห์แก๊สสามารถสะสมมวลให้มากพอที่จะกดดันให้ใจกลางของดาวมีึอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน ก็จะสามารถฟิวชันไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียมเกิดเป็นดาวฤกษ์ และหากนำบรรยากาศที่หนาแน่นด้วยแก๊สไฮโดรเจนนี้ออกไป ดาวเคราะห์ชั้นนอกก็จะมีสภาพเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่มีพื้นผิวเป็นของแข็งดังเช่นดาวเคราะห์ชั้นในนั่นเอง




ดวงอาทิตย์ : ดาวฤกษ์ของเรา

ดวงอาทิตย์ : ดาวฤกษ์ของเรา
 
ภาพที่ 1:  ดวงอาทิตย์
     
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก มีตำแหน่งอยู่ที่ตรงมุมหนึ่งของกาแล็กซีของเรา ซึ่งบางทีอาจจะเป็นตำแหน่งที่ไม่อาจจะมองเห็นจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งดวงใดที่เป็นบริวารของดาวฤกษ์อื่นก็ได้ การดำรงชีวิตของเราต้องอาศัยดวงอาทิตย์ และเพราะว่าดวงอาทิตย์อยู่ใกล้กับโลกมากทำให้มีการศึกษาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์มากที่สุดอันทำให้รู้จักมันได้ดีกว่าที่รู้จักดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ
ส่วนประกอบ       
        ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ ์ประเภทดาวแคระเหลือง (yellow dwarf) ดวงหนึ่งจัดเป็นดาวฤกษ์ขนาดย่อม แต่เพราะว่ามันอยู่ห่างจากโลกราว 93 ล้านไมล์ ( 150 ล้านกิโลเมตร) ดวงอาทิตย์จึงเป็นดาวฤกษ์บนฟากฟ้าที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา ดวงอาทิตย์เป็นลูกกลมดวงใหญ่ที่ประกอบด้วยก๊าซฮีเลียมประมาณร้อยละ 24 ไฮโดรเจนร้อยละ 75 และธาตุอื่น ๆ อีกประมาณร้อยละ 1 ภายในดวงอาทิตย์มีปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียส (nuclear fusion reactions) ดำเนินอยู่ ส่งผลให้อะตอมของไฮโดรเจนหลอมรวมกันเกิดเป็นอะตอมของฮีเลียมซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าเล็กน้อยและให้พลังงานออกมาด้วย พลังงานนี้แผ่ผ่านอวกาศมาถึงโลกทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้
การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์
           ท่านต้องไม่สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าโดยตรง เนื่องจากอาจทำให้ท่านตาบอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่ดุด้วยกล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์เป็นอันขาด ในการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ชนิดพิเศษเท่านั้น กล้องโทรทรรศน์ชนิดพิเศษเท่านั้น กล้องโทรทรรศน์ชนิดพิเศษนี้จะติดที่กรองแสงและทำงานโดยการสะท้อนภาพลงบนกระจก ตัวรับภาพจะเป็นถังขนาด ใหญ่ปลายใบอยู่ทางด้านล่างของตัวกล้องสำหรับใช้ในการศึกษาการแผ่รังสีที่มาจากใจกลางของดวงอาทิตย์ สำหรับข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างของดวงอาทิตย์จะถูกรวบรวมโดยดาวเทียม ยานอวกาศ และห้องทดลองที่ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศ
ถ้าเราดูภูมิประเทศอันเป็นพื้นราบที่อยู่ท่ามกลางแสงแดด เราจะเห็นว่าแสงแดดสาดส่องทาบทับไปบนทุกสิ่งอย่างสม่ำเสมอกันเราไม่อาจจะมองดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้ เพราะจะเป็นการเสี่ยงมากถึงขนาดที่ทำให้ตาบอดได้ แต่ถ้าเราดูดวงอาทิตย์ด้วยกล้องโทรทัศน์สุริยะ (Solar telescope) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์สำหรับใช้ดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ เราจะสังเกตเห็นว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เป็นเหมือนกับท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล เต็มไปด้วยคลื่นมากมายเหลือที่จะนับ และมีจุดต่าง ๆ ซึ่งเคลื่อนที่ไปมา กับรัศมีอันโชติช่วงเจิดจ้าล้อมรอบดวงอาทิตย์อยุ่ด้วย 1 วง
โครงสร้าง
      ดวงอาทิตย์ประกอบขึ้นด้วยมวลก๊าซจำนวนมหาศาลซึ่งทำให้ใจกลาง (core) (1) ซึ่งเป็นส่วนในสุดที่ห้อมล้อมด้วยชั้นที่เย็นกว่าหลายชั้นนั้นร้อนจัดมาก ที่ใจกลางดังกล่าวมีอุณหภูมิราว 36 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ แต่ที่ผิวนอกร้อนเพียง 11,000 องศาเท่านั้น ตรงส่วนบนสุดของใจกลางเป็นเขตการแผ่รังสี ( radiant zone) (2) ซึ่งปลดปล่อยรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาภายนอก ถัดไปเป็นเขตการพา(convection zone) (3) ซึ่งเป็นที่ที่มีลำก๊าซมหิมาจำนวนมากผุดพลุ่งขึ้นและยุบลงสลับกัน ถัดออกมาก็เป็นผิวนอกของดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นได้และรู้จักกันในชื่อของโฟโตสเฟียร์ (photosphere) (4) ซึ่งเป็นชั้นบาง ๆ เพียง ชั้นเดียว
ภาพที่ 2 : โครงสร้างของดวงอาทิตย์

บนชั้นโฟโตสเฟียร์นี้ยังมีชั้นบาง ๆ อีก 1 ชั้นเรียกว่า โครโมสเฟียร์ (chromosphere) ซึ่งหนาประมาณ 1,800 ไมล์ (3,000 กิโลเมตร) ถัดออกมาเป็นชั้นของก๊าซในสภาพเป็นไอออนที่มีความหนาแน่นต่ำและร้อนจัดมากพวยพุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์เป็นระยะทางไกลซึ่งทำให้เห็นเป็นวงแสงสีรุ้งรอบดวงอาทิตย์เมื่อเกิดสุริยุปราคา ชั้นของก๊าซนี้เรียกว่ากลดสุริยะ (solar corona) เป็นชั้นที่ร้อนจัดมากชั้นหนึ่ง ทั้ง 2 ชั้นนี้ถือได้ว่าเป็นชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ (the Sun's atmoshere)

แสงสุริยะ
       การที่ดวงอาทิตย์มีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) ออกมาได้เป็นปริมาณมากมายมหาศาลนั้นเป็นผลมาจากปฏิกิริยาภายในดวงอาทิตย์นั้นเอง รังสีที่แผ่ออกนี้ส่วนหนึ่งมาถึงโลกของเรา รังสีดังกล่าวมีความยามคลื่น (wavelenght) ต่างกันมาก ตั้งแต่รังสีเอกซเรย์ (X-ray) ไปจนถึงคลื่นวิทยุ (radio waves) ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ก็เฉพาะแต่ส่วนของรังสีที่อยู่ในรูปของแสงที่มองเห็นได้ (visible light) เท่านั้น แสงดังกล่าวที่สายตาเรามองเห็นเป็นสีขาวนั้นมีรังสีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีความยาวคลื่นต่าง ๆ กันนั่นก็คือมีสี (color) ต่างกันด้วย

จุดดับในดวงอาทิตย์
        จุดดับในดวงอาทิตย์เป็นบริเวณของพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่มีสีดำ ซึ่งมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าพื้นผิวที่อยู่ด้านหลัง จุดดับดังกล่าวปรากฎให้เห็นเฉพาะบริเวณเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์เท่านั้น ไม่ปรากฎว่าพบที่บริเวณขั้วทั้งสองของดวงอาทิตย์เลย จัดดับเหล่านี้แต่ละจุดจะตรงส่วนกลางจะมืดกว่าส่วนอื่น ๆ และที่ขอบจะเป็นเงามืดน้อยกว่าส่วนกลาง รูปร่างและขนาดของจุดดับเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนไปอย่างมากตลอดเวลา จุดดับอาจจะเกิดขึ้นแล้วหายไปภายในไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจจะคงอยู่ได้เป็นหลาย ๆ เดือนกว่าจะหายไปก็ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของมัน จุดดับในดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปตามการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์มีจำนวนที่ไม่แน่นอน แต่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงทุกรอบ 11 ปี ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ วัฎจักรสุริยะ (solar cycle)
ภาพที่ 3 :  จุดดับในดวงอาทิตย์
เปลวสุริยะ
       ชั้นโครโมสเฟียร์ (chromosphere) ของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิราว 180,000 องศา แต่เป็นชั้นที่มีความหนานแน่นไม่มากกนักและไม่ค่อยปลดปล่อยพลังงานใด ๆ ออกมา ทว่าเป็นชั้นที่มีปรากฎการณ์หนึ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษกล่าวคือ มีเปลวไฟมหิมาแลบขึ้นไปจากพื้นผิวเป็นระยะทางหลายพันไมล์/กิโลเมตร เรียกกันว่าเปลวสุริยะแทรกผ่านชั้นกลดสุริยะ (solar corona) ออกไปสู่ห้วงอวกาศ ในบางครั้งอาจจะแลบออกไปไกลถึง 610,000 ไมล์ (1 ล้านกิโลเมตร) จากพื้นผิวบนดวงอาทิตย์
ภาพที่  4 :  เปรวสุริยะในดวงอาทิตย์
การทรงกลดของดวงอาทิตย์ 
         ส่วนนี้เป็นส่วนบรรยากาศชั้นนอก (outer atmosphere) ของดวงอาทิตย์เริ่มจากชั้นโครโมสเฟียร์ (chromosphere) ออกมาในห้วงอวกาศเป็นระยะทางหลายไมล์/กิโลเมตร ส่วนนี้เป็นส่วนที่แทบจะไม่มีความหนานแน่นเลย และแม้จะมีอุณหภูมิราวย 1.8 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ แต่มีการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาน้อยมาก รูปร่างของเปลวไฟก๊าซที่พวยพุ่งขึ้นไปเรียกว่ากลดสุริยะ (solar corona) นี้เปลี่ยนแปรไปตลอดเวลาขึ้นอยู่กับปริมาณของกิจกรรมในแต่ละรอบกิจกรรม (activity cycle) ด้วย โดยเปลวไฟดังกล่าวจะพวยพุ่งแลบออกไปไกลมากกว่าปกติในรอบกิจกรรมที่เป็๋นจำนวนมากที่สุด
กลดสุริยะ (solar corona) สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงที่ดวงอาาทิตย์เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง (total eclipse) ซึ่งเป็นเวลาที่เงาของดวงจันทร์ทอดทับกับวงกลมสุริยะ (solar disk) ได้หมดพอดี ทำให้แลเห็นได้เฉพาะแต่ชั้นโฟโตสเฟียร์ (photosphere) ของดวงอาทิตย์ที่ล้อมด้วยรัศีที่เป็นแถบกว้างสีค่อนข้างขาว 1 วง ซึ่งเป็นเปลวไฟที่พลุ่งวูบวาบเป็นสายเล็กและยาวจำนวนมากเท่านั้น นี่คือสิ่งที่เรียกว่า กลด (corona) กลดสุริยะปลดปล่อยรังสี เอกซเรย์และแสงอัลตราไวโอเลต

ภาพที่ 5 :  การทรงกรดของดวงอาทิตย์
 ลมสุริยะ
        ลมสุริยะ เป็นคำที่ใช้เรียกการพัดอย่างต่อเนื่องกันของกระแสอนุภาคต่าง ๆ ที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกสู่อวกาศโดยรอบกระแสดังกล่าวมีมวลเบาบางมากเพียง 4 หรืออ 5 อนุภาคต่อลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น และเช่นเดียวกันเมื่อมาถึงโลกก็จะรบกวนการโทรคมนาคม และยังก่อให้เกิดปรากฎการณ์ตื่นตาตื่นใจที่เรียกว่า แสงออโรรา (aurora borealis) ด้วย นอกจากนั้นลมสุริยะนี้ยังเป็นส่งที่ทำให้เราสามารถแลเห็นหางของดาวหางได้ด้วย

การกำเนิดโลก

การกำเนิดโลก

ภาพ : การกำเนิดโลก


สมมติฐานกำเนิดโลกมีอยู่มากมาย แต่สามารถจัดได้เป็น 2 กลุ่มคือ

1. สมมติฐานเนบูลาร์ (Nebular Hypothesis)
          เชื่อว่าหลายพันล้านปีที่ผ่านมาได้มีกลุ่มก๊าซ และสสารจำนวนมาก หมุนรอบดวงอาทิตย์ ที่เกิดขึ้นใหม่ ต่อมาในราว 4,600 ล้านปี กลุ่มก๊าซ และสสารดังกล่าวได้รวมตัวกันเกิดเป็นโลก และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่เป้นบริวารของดวงอาทิตย์ โดยเริ่มจากกลุ่มก๊าซ และสสารได้รวมตัวกันมีขนาดเล็กลง และร้อนยิ่งขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นดวงไฟ ต่อมาเย็นตัวลงเกิดการแข็งตัว ในส่วนที่เป็นเปลือกโลกหุ้มส่วนที่เป็นของเหลวไว้ภายใน และมีกลุ่มก๊าซและสสารที่มีความหนาแน่นต่ำ เกิดเป็น บรรยากาศห่อหุ้มอยู่รอบโลกขึ้นก่อน ภายหลังได้เกิดกระบวนการภูเขาไฟ ขึ้นอย่างมากมาย หลังจากนั้นเมื่อโลก เย็นตัวลงมากเข้า ส่วนที่เป็นก๊าซและน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆ และกลั่นเป็นฝนตกลงมา ก่อให้เกิดเป็นทะเลและมหาสมุทร พร้อมกับเกิดกระบวนการต่างๆ เช่น การเกิดภูเขาไฟ การเกิดแผ่นดินไหว การเกิดเทือกเขา การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน เป็นต้น รวมถึงการเกิดและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต


  2. สมมติฐานพลาเนตติซิมัล (Planetesimal ; Hypothesis)
       ได้อธิบายว่าโลกและดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ เคยเป็นหนึ่งของดวงอาทิตย์มาก่อน ภายหลังได้หลุดออกมา เป็นดาวเคราะห์ต่าง ๆ โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์เนื่องจาก แรงดึงดูดของดาวดวงหนึ่งที่โคจรผ่านเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์นั้น


กำเนิดสุริยะจักรวาล
              ตามแนวทางการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ปรากฎว่าราว 5 พันล้านปีล่วงมาแล้ว ภายในอวกาศมีกลุ่มก๊าซ และยังมีหมอกเพลิงอยู่ทั่วไป อาศัยแรงแห่งความโน้มถ่วงและความกดดัน สืบเนื่องมาจากกลุ่มก๊าซภายนอกกลุ่มอื่นๆ ผลักดันให้กลุ่มก๊าซและหมอกเพลิงเหล่านั้นรวมตัวกันเข้า และค่อยๆหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราความเร็วเพิ่มขึ้นทุกที เมื่อกลุ่มของก๊าซและหมอกเพลิงรวมตัวกันหนาแน่นมากขึ้น มีอัตราเร็วของการหมุนมากขึ้น อุณหภูมิก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นด้วย จนในที่สุดก็เป็นดาวฤกษ์ที่มีระดับความร้อนสูงและมีแสงสว่างสดใส บางกลุ่มอาจจับกลุ่มกันมากกว่าสองขึ้นไป แต่บางกลุ่มก็อยู่โดดเดี่ยว เช่นดวงอาทิตย์ของเราเป็นต้น
สุริยะจักรวาลของเราเป็นจักรวาลที่ใหญ่โตมากจักรวาลหนึ่ง มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวบริวารอีก 9 ดวงโคจรอยู่รอบๆ ดาวบริวารเหล่านี้แยกตัวออกมาจาก
ดวงอาทิตย์ในขณะที่ยังเป็นกลุ่มก๊าซอยู่ และหมุนรอบดวงอาทิตย์ในทางโคจรที่จำกัด นานเข้าก็จับกลุ่มเย็นตัวลงก่อน และกลายเป็นดาวเคราะห์ ที่ไม่มีแสงในตัวเอง และยังมีดาวดวงเล็กๆ เป็นบริวารของดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีก เรียกว่าดวงจันทร์ และก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันที่จับกลุ่มแล้วโคจรไปในรูปแบบของดาวหาง


การเกิดแผ่นดินและทวีป
            เมื่อแรกแตกตัวออกมาจากดวงอาทิตย์นั้น ลูกโลกก็มีลักษณะเป็นดังกลุ่มหมอกเพลิง เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ และก็เคลื่อนที่ไปตามวงโคจรของมันรอบดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าจึงเย็นตัวเร็วกว่าดวงอาทิตย์ และในขณะที่เกิดการเย็นตัวนี้เอง สารที่เป็นส่วนประกอบพวกใดที่มีความหนาแน่นมากกว่า ก็จมลงไปอยู่ในใจกลางลูกกลมๆที่จะกลายเป็นโลก ส่วนที่เบากว่าก็เป็นองค์ประกอบอยู่ภายนอก และจากภายในก็มีไอน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์พุ่งขึ้นมาพร้อมกับก๊าซอย่างอื่น ทำให้เกิดบรรยากาศห่อหุ้มโลก
นานแสนนานต่อมา ผิวโลกเย็นตัวลงอย่างช้าๆ และอาจกินเวลานานนับล้านๆปีที่ความร้อนภายใน ค่อยแผ่กระจายขึ้นไปภายนอก วัตถุที่หลอมละลายอยู่ข้างในก็พวยพุ่งออกมาภายนอก ในขณะที่มันเย็นตัวลงไปอีก แต่เพราะมีน้ำหนักมากก็เลื่อนตกกลับลงไปในส่วนลึกของมันอีก และส่วนภายในนั้นร้อนแรงและยังคงคุโชนอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
ดังนั้นภายในโลกจึงอาจจะเป็นแร่ธาตุที่หลอมเหลวและร้อนระอุอยู่ และมีขนาดมหึมา เส้นผ่าศูนย์กลางเฉพาะส่วนที่หลอมเหลวยาวถึง 4500 ไมล์ และมีอุณหภูมิที่ราวๆ 5000 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเป็นความร้อนที่เกือบเท่าๆ กับความร้อนของผิวดวงอาทิตย์ ธาตุที่หลอมเหลวนี้จัดเป็นผิวโลกชั้นในที่เรียกว่า เสื้อคลุมชั้นใน อาจหนาถึง 1800 ไมล์ ประกอบด้วยหิน ธาตุเหล็ก และโลหะอย่างอื่นๆปนอยู่อีกมาก
รอบๆ เสื้อคลุมชั้นในนี้ กลายเป็นชั้นบางๆของผิวโลก ถ้าเปรียบโลกทั้งใบเป็นดังผลแอปเปิล ผิวชั้นนี้ก็ไม่หนาไปกว่าผิวแอปเปิลเลย ชั้นล่างของชั้นหินนี้เป็นหินที่เราพบในลักษณะของลาวา ซึ่งภูเขาไฟพ่นออกประมาณว่าเปลือกนี้หนาถึง 20 ไมล์ ชั้นล่างสุดของผิวนี้เป็นท้องมหาสมุทรและทะเล ส่วนที่สูงขึ้นมาก็เป็นพื้นผิวของทวีปซึ่งกลายเป็นภูเขา แผ่นดิน และเนื้อเปลือกโลกชั้นนอกสุด อันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
เริ่มแรกที่ทวีปเกิดขึ้นใหม่ๆนั้น มีลักษณะน่ากลัวมาก เพราะขณะนั้นผิวโลก และภายในยังคงร้อนระอุอยู่ จึงมีเปลวไฟ กลุ่มก๊าซที่ร้อนจัด และหมอกควันระเบิดพวยพุ่งขึ้นมาเป็นแห่งๆ บางทีก็มีลาวาที่ประกอบด้วยหินละลายเหลวไหลขึ้นมาเป็นทะเลเพลิง ซึ่งในทะเลเพลิงของลาวานี้ก็มีหินแกรนิตมหึมาผุดลอยขึ้นมาด้วย เมื่อเย็นลงก็มีหินละลายส่วนอื่นๆจะเกาะเพิ่มเติมให้หนาออกไปเรื่อยๆ และในบางส่วนผิวนอกเย็นตัวเกาะเป็นของแข็ง แต่บางส่วนภายในที่ยังเดือดอยู่ก็ผลักดันให้ปูดนูนขึ้นภายนอก
ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าส่วนของทวีปในโลกนี้ เกิดขึ้นในบริเวณไหนก่อน อาจเกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน ในหลายๆแห่ง แล้วค่อยๆแปรสภาพไปทีละขั้นตอน ตามอำนาจของการเปลี่ยนแปลงของโลก จนมีสภาพกลายเป็นทวีปต่างๆ และทุกวันนี้ผิวโลกส่วนที่เป็นทวีปนี้ ก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ช้าลงเท่านั้น


การเกิดน้ำ
            เมื่อผิวโลกร้อนอยู่นั้น ถูกห่อหุ้มด้วยกลุ่มเมฆหมอกของก๊าซต่างๆ ซึ่งอาจจะกินเวลานานนับล้านปีที่เมฆหมอกเหล่านี้ปกคุมโลกอยู่ ต่อมาเมฆหมอกและก๊าซก็ค่อยๆเย็นตัวลงตามลำดับ การรวมตัวของก๊าซบางอย่างที่พอเหมาะกับสัดส่วน ทำให้เกิดละอองไอน้ำลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อเย็นลงก็จับตัวกันเป็นหยดน้ำและตกลงมาเป็นฝน เมื่อฝนตกลงมากระทบผิวโลกที่ยังร้อนอยู่ก็กลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปรวมตัวกันเป็นเมฆดำและเป็นฝนตกลงมาอีก เมื่อผิวโลกเย็นตัวลง ฝนที่ตกลงมาก็ตกค้างเหลืออยู่บนผิวโลกบ้าง ระเหย
กลับขึ้นไปอีกบ้าง ครั้นฝนตกลงมาเรื่อยๆ นับเป็นเวลาล้านๆปี อำนาจของน้ำฝนที่ตกลงมาในที่สูงของแผ่นดิน ซึ่งต่อมาเราเรียกว่าภูเขานั้นก็จะไหลลงสู่ที่ต่ำเบื้องล่าง และขังอยู่ตามแอ่งของผิงโลกคล้ายกับสระน้ำมหึมา เมื่อฝนค่อยๆเบาบางลงเมฆหมอกก็เริ่มจางลง น้ำฝนที่ตกลงมาสะสมมากขึ้นก็ทำให้เกิดเป็นมหาสมุทร
เวลาได้ผ่านไปอีกหลายล้านปีกว่าผิวโลก มหาสมุทร และทะเลต่างๆ จะปรากฏออกมาอย่างที่ได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ นับแต่ยุคฝนตกใหญ่ และมีน้ำท่วมผิวโลก ทำให้ผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอีกเรื่อยมา ทำให้บางส่วนที่เคยเป็นพื้นดินยุบตัวลึกลงเป็นทะเลหรือมหาสมุทรไป และส่วนที่เคยจมน้ำอยู่บางส่วนถูกกดดันให้ปูดนูนสูงขึ้นมาพ้นน้ำบ้าง ริมแผ่นดินที่จรดขอบน้ำอันเป็นฝั่งทะเลหรือฝั่งมหาสมุทร ก็เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ ทำให้มีลักษณะเว้าแหว่งดังเช่นที่เห็นอยู่ทุกวันนี้


ที่มา : www.dmr.go.th

การกำเนิดสุริยะจักรวาล


การกำเนิดสุริยะจักรวาล


ภาพที่   : การกำเนิดระบบสุริยะจักรวาล


          จักรวาลของเราที่มีดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางนั้นได้ ถือกำเนิดมาจากกลุ่มแก๊สร้อนกลุ่มหนึ่ง ของทางช้างเผือก เมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีมาแล้ว จักรวาลนี้เป็นจักรวาลที่มีความไม่ธรรมดา อยู่หลายประการ เช่น มีสิ่งมีชีวิต มีวงโคจรของดาวเคราะห์บริวารของจักรวาลนี้ ที่แทบจะอยู่ในระนาบเดียวกันหมด นอกจากนี้ดาวเคราะห์ส่วนมาก จะหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียวกัน ยกเว้นดาวศุกร์และพลูโต ซึ่งหมุนสวนทิศกับดาวดวงอื่นๆ ที่แปลกสุดแปลกคือดาวมฤตยูนั้น จะตะแคงตัวหมุน ครั้นเมื่อนักดาราศาสตร์ เปรียบเทียบความเร็วในการโคจร ของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์แล้ว เขาก็พบว่าดวงอาทิตย์ของเรา หมุนช้าอย่างแทบไม่น่าเชื่อ แค่นี้ยังไม่พอ นักวิทยาศาสตร์ก็ยังรู้แปลก ที่ยังตอบไม่ได้ว่าเหตุใดดวงจันทร์ ของโลกและดวงจันทร์ของดาวพลูโตจึงมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับดาวแม่ ในขณะที่ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์อื่นๆ นั้นเล็กนิดเดียว และดวงจันทร์เหล่านั้นมาจากไหน เหตุใดดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จึงประกอบด้วยธาตุหนัก แต่เหล่าดาวที่อยู่ไกลจึงมีองค์ประกอบที่เป็นธาตุเบา เหตุใด เหตุใด และเหตุใด  ทฤษฎีใดๆ ของสุริยจักรวาลที่ถูกต้อง และสมบูรณ์จะต้องอธิบายและตอบคำถามต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้หมด
              ในอดีตเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว นักดาราศาสตร์เคยวาดฝันเกี่ยวกับกำเนิดของสุริยจักรวาลว่าได้มีดาวฤกษ์ดวงใหญ่อีกหนึ่งดวงโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์ของเรา และแรงดึงดูดอันมหาศาลของดวงดาวนั้นได้ดึงดูดแก๊สร้อนจากดวงอาทิตย์ให้หลุดปลิวลอยไปในอวกาศ เมื่อแก๊สนั้นเย็นลง มันจึงจับตัวแข็งเป็นดาวเคราะห์ แต่หลักฐานต่างๆ ในปัจจุบันส่อแสดงให้เห็นแล้วว่า ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่างๆ นั้นเกิดมาพร้อมๆ กัน ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงต้องตกไปส่วนนักปราชญ์ชื่อ Kant และนักฟิสิกส์ชื่อ Laplace นั้นเคยเชื่อว่า สุริยจักรวาลเกิดจากกลุ่มแก๊สที่หมุนรอบตัวเองจนมีลักษณะเป็นจานกลมเมื่อส่วนต่างๆ ของขอบจานเย็นลงมันจะหดตัวและจับตัวรวมกันเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ แต่ถ้าทฤษฎีนี้เป็นจริง เมื่อดาวเคราะห์ต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว ดวงอาทิตย์ก็ควรจะหมุนเร็วขึ้น แต่กลับปรากฏว่าดวงอาทิตย์นั้นหมุนช้ามาก ทฤษฎีนี้จึงต้องมีการปรับปรุงการสังเกตข้อมูลที่ดาวเทียม Infrared Astronomical Satellite ส่งมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ ได้เห็นดาวฤกษ์หลายดวง เช่น Beta Pictoris ว่ามีแก๊สเย็นห้อมล้อมอยู่ การเห็นนี้จึงทำให้นักดาราศาสตร์ปัจจุบันคิดว่า นี่คือภาพของสุริยจักรวาลตอนถือกำเนิดใหม่ๆ

  ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/earth_baby/02.html