วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

BLOG


BLOG
รูปภาพของ BLOG
 
Blog คือ การบันทึกบทความของตนเอง (Personal Korunal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว การมองโลกของเรา ความคิดเห็นของเราต่อเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นบทความเฉพาะด้าน เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ
Blog มาจากคำว่า WeBlog บางคนอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งหมาดคือ Blog ซึ่งหมายถึง การบันทึกบทความของตนเอง (อาจเป็นอักษร รูปภาพ มัลติมีเดีย) ลงบนเว็ปผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รับทราบ Blog หรือ Web Blog เป็นการสื่อสารสองทางระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน โดยผู้อ่านสามารถโต้ตอบได้โดยการ comment
Web blog
BlogGang คือ "Web log" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "blog" ชื่อดังกล่าวเริ่มใช้เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1997 โดยผู้ที่คิดชื่อนี้คือ Jorn Barger "weblog" (เว็บ Blog) หมายถึงเว็บไซต์ส่วนตัว ที่ผู้สร้างหรือที่เรียกว่า blogger จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่บอกเล่าเรื่องราว สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอบทความใหม่ๆ วิจารณ์ข่าวสารบ้านเมือง หรืออื่นๆ ที่ผู้ใช้เห็นว่าน่าสนใจ พร้อมกันนั้น ยังเปิดให้ผู้เยี่ยมชมได้สามารถแสดงความคิดเห็นต่อ topic ต่างๆ ที่ได้ตั้งขึ้นอีกด้วย บล็อก (อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า blog ย่อมาจากคำว่า weblog หรือ weblog โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเองในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย สรุปง่ายๆ Blog ก็คือ Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง เรื่องหรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่ง ไดอารี่ ก็ถือว่าเป็น Blog ในรูปแบบหนึ่งBlog ส่วนใหญ่มักจะเขียนโดยคนเพียงคนเดียว แต่ก็มีไม่น้อยที่เขียนเป็นกลุ่ม โดยอาจจะมีเรื่องราวเฉพาะไปที่ๆเรื่องประเภทเดียว หรือบางทีก็หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เรื่องราวที่เขียนขึ้นมานาน จะถูกเก็บรวบรวมเป็น Archives เก็บไว้ โดยมักจะแสดงผลเป็น link ในรูปแบบ วันเดือนปี เพื่อให้เราสามารถกดเข้าไปดูได้ ก็ไม่ต้องตกใจว่าที่หน้าแรกของ Blog บางทีก็มีเรื่องแสดงแค่ 10 เรื่องก็หมดแล้ว เพราะบางทีใน Archives อาจมีเรื่องอยู่ในนั้นอีกเป็นร้อยๆ โดยที่เราต้องเข้าไปดูBlog มักจะมาคู่กับระบบ Comment ที่เปิดโอกาสให้คนอ่าน สามารถ Comment ข้อความต่อท้ายในเรื่องที่เรา post ได้ คล้ายๆรูปแบบของ Webboard ไม่ว่าจะเป็นติชม แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม หรือบอกแหล่งข้อมูลใหม่ๆ หรืออาจจะแค่ทักทายเจ้าของ ฺBlog ก็เป็นได้ ถ้าคุณลองเลื่อนไปดูด้านล่างของเรื่องนี้ จะพบช่องให้กรอกComment ทิ้งข้อความไว้ให้ผมได้Blog อาจจะมีบริการทั้งเสียเงิน และไม่เสียเงิน ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้เราสามารถใช้งานได้ง่ายๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากมายนัก โดยส่วนใหญ่แล้ว Blog หลายๆที่มักจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และลึก เนื่องจากเจ้าของ Blog มักจะนำข้อมูลที่ตัวเองรู้ หรือประสบการณ์มาถ่ายทอด โดยค่อนข้างเป็นกันเอง แต่ในปัจจุบัน บริษัทใหญ่ๆ ก็หันมามีBlog เป็นของตัวเองกันมาก ไม่ว่าจะเป็น Google , Yahoo เพราะ Blog สามารถทำตัวเป็น PR ให้กับบริษัทได้ โดยสร้างความรู้สึกเป็นกันเอง ไม่มีพิธีอะไรมาก สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้โดยตรง โดยไม่ต้องเป็นทางการมากนัก และลูกค้าก็ชอบที่จะติดต่อสื่อสารผ่านทาง Blog ด้วย
ประโยชน์ของ Web blog
Blog มีไว้เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าของ blog ถึงแม้ว่า blog จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายกัน แต่ blog แต่ละแห่งจะมีบุคลิกเฉพาะตัว แตกต่างกันไปเหมือนบุคลิก บาง blog แค่เล่าเรื่องชีวิตประจำวัน บาง blog เกาะติดข่าว บางblog คุยเรื่องการเมืองหรือปรัชญา จงนั้นอาจแบ่งประโยชน์ได้หลายแบบด้วยกัน ซึ่งอาจจะแจกแจงได้ดัง นี้
1.เปิดตัวเองให้โลกรู้ เรื่องของ blog มักเป็นเรื่องราวของเจ้าของ blog เป็นการเล่าประสบการณ์หรือความคิดของเจ้าของ เป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกของเจ้าของ blog เป็นการระบายความเคลียดอีกทางหนึ่ง
2.ทันข่าวทันเหตุการณ์ ประสบการณ์บางคนก็เป็นข่าวเห็นอีกหลายคนได้ ข่าวจาก blog หลายแห่งเป็นข่าววงใน บางคนเล่าเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่เจอมา หลาย blog พูดถึงแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ
3. กลั่นกรองข้อมูล blog บาง blog จะมีการกลั่นกรองข้อมูลก่อนนำลง blog ทำให้ผู้อ่าน blog ไม่ต้องเสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูล เพราะมีการนำเสนอข้อมูลหรือมีไกด์ในการท่องเว็บ
4. รายงานการท่องเว็บ เป็นวัตถุประสงค์หลักที่เป็นต้นกำเนิดของการทำ blog หลาย blog มีการลิงก์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใน blog ซึ่งเป็นการแนะนำว่าเว็บไหนดีก็ไปที่เว็บนั้น
5. การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นความในใจของเรื่องต่างๆ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ หรือการบ่นที่ทุกคนมีอยู่ในใจ การทำ blog เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นรับรู้
6. ถ่ายทอดประสบการณ์ หรือไดอะรี่ออนไลน์ เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเล่าเรื่องการเดินทางท่องเที่ยว
7. โน้มน้าวใจผู้อ่าน ลักษณะนี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ แต่กรณีแบบนี้เป็นการขายความคิด อย่าง blog สำหรับคอการเมืองอาจจะมีฝ่ายซ้าย - ฝ่ายขวา,สายเหยี่ยว ­- สายพิราบ จะพบว่าเนื้อหาจะเป็นการโพสต์โจมตีฝ่ายตรงข้าม แล้วก็สนับสนุนแนวความคิดของตนเอง
ตัวอย่างของ  BLOG
ภาพการเข้าใช้ของBLOGGER
ภาพของ  BLOGGER
แหล่งที่มา  :  http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2012/07/blog.html               
                       วันที่   27   กุมภาพันธ์  2556
 
 
 


 
 


Social media



     Social media
 
    ภาพของSocial media
 
Social Media คือ ช่องทางในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิดสำหรับคนยุคใหม่ โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือสังคมผ่านทางเว็บไซต์ อย่างเช่น กลุ่มคนรักกีฬา คนรักรถ คนรักสุนัข การรณรงค์ในเรื่องต่างๆ หรือแม้กระทั่งการรวมกลุ่มของผู้ชื่นชอบแบรนสินค้า โดยในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธได้แล้วว่า เครื่องมือชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากที่ช่วยให้คนเรานั้นติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวมเร็วมากยิ่งขึ้น การได้รับข่าวสารได้ทันถ่วงที
คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน
คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น
ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โ้ต้ตอบกันได้นั่นเอง
พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ


ภาพ  App ต่างๆ ของ Social Media
 

ตัวอย่าง Social Media ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ
- facebook
ภาพหน้าแรกการเข้าใช้ facebook
- twitter
ภาพหน้าของtwitter
ภาพการเข้าใช้ของtwitter
- google+

ภาพหน้าแรกของ google+

ภาพการใช้งานของ google+
 


แหล่งที่มา :      http://krunum.wordpress.com/2010/06/02/social-network/                                            
                         วันที่   27  กุมภาพันธ์  2556  






 
 



 

 

Video Conference


Video Conference


ภาพของ Video Conference
 
                Video Conference  คือระบบการติดต่อสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลภาพ และข้อมูล เสียง ระหว่างจุดต่อจุดหรือจุดต่อหลายๆจุดโดยผ่านระบบสื่อสาร ซึ่งจะเป็นลักษณะของการโต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทางหรือพูดง่ายๆก็คือระบบประชุมทางไกลที่ผสมผสานระหว่างภาพและเสียง ให้เปรียบเสมือนมีการประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน
 
อุปกรณ์ที่สำคัญของ Video Conferenc
  1. โคเด็ก (CODEX)

 
ภาพของโคเด็ก (CODEX)
Codec เป็นคำย่อมาจาก CodeและDecodeเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟนส่งผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่งรวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับมาจากอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพง เส้นทางสื่อสารขนาด 384Kbpsขึ้นไปสามารถให้คุณภาพในระดับที่ยอมรับโดยหลักการทำงานของCODECจะแปลงสัญญาณ อนาล็อคทั้งภาพและเสียงให้เป็นสัญญาณดิจิตอลและจะบีบสัญญาณให้เล็กลงโดยดำเนินข้อมูลภายในเฟรมเดียวกัน CODECเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของระบบหลักการทำงาน
 
กล้อง
ภาพของกล้อง ใน Video Conference
 
เป็นกล้องทีวีที่ใช้ในการจับภาพผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อส่งเข้า CODEC แปลงและบีบอัดสัญญาณ มีระบบเซอร์โวเพื่อควบคุมมาจากระยะไกลให้ปรับมุมเงยมุมก้มส่วนซ้ายขวา และซูมภาพได้ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec
 
จอภาพ
 
ภาพของจอภาพ ใน Video Conference
 
แสดงภาพของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากระบบต้นทางและปลายทางเป็นจอภาพที่ใช้กับระบบ PAL หรือTSCภาพที่ปรากฏมีระบบรวมสัญญาณเพื่อแบ่งจอภาพเป็นจอเล็ก ๆเพื่อดูปลายทางแต่ละด้านหรือดูภาพของตนเองระบบจอภาพอาจขยายเป็น จอใหญ่ขนาดหลายร้อยนิ้วก็ได้
 
ไมโครโฟน (Microphone)
ภาพของไมโครโฟน (Microphone) ใน Video Conference
 
    ทำหน้าที่รับเสียงจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อส่งไปยังระบบเสียงปลายทาง
 
แป้นควบคุม (Control Key Pad)
             แป้นควบคุมทำหน้าที่ควบคุมกล้องเสียงและเลือกส่งภาพจากแหล่งต่างๆไปยังระบบปลายทาง เป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการควบคุมระบบ เช่น ควบคุมการปรับมุมกล้องที่ปลายทางระยะห่างไกล การเลือกการติดต่อปลายทาง การปรับเสียง ปรับระบบสื่อสารต่าง
หลักการทำงานมีวิธีการอย่างไร
1. เชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงอุปกรณ์ทั้งหมดให้เรียบร้อย ได้แก่ Codec Network  กล้องเสริม,จอโทรทัศน์, Projector, เครื่องนำเสนอ, Computer, เครื่องบันทึก, ระบบเสียงชุดประชุม (ตามความต้องการใช้งาน)
2. เชื่อมต่อ
Codec เข้ากับระบบ Network เพื่อ Config IP ให้กับ Codec
3. ทดสอบการแสดงผลของภาพและเสียงในฝั่งของตนเองให้ถูกต้อง เมื่อติดตั้งและทดสอบเรียบร้อยแล้วก็ให้ทำการติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำการทดสอบ Conference ระหว่างวิทยาเขตต่อไปหลักในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ระบบการประชุมทางไกล
 
ตัวอย่างการประชุมสายโทรศัพท์
 
 
ภาพข้างบนหลักการทำงานของการประชุมสายโทรศัพท์
 
ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อVideo Conference


                                                 
 จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์
 
 
ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่านMCU
จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่านMCU
ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ด้วยการVPN
 
 
จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ด้วยการVPN

แหล่งที่มา : http://www.klongsiam.com/18.2/53631163/v_dee.html    วันที่  27  กุมภาพันธ์   2556